Archive

คลังข้อมูลและเอกสารดาวน์โหลด

ข้อสรุปจากกระบวนการ

thematic briefs

Aging in Place

การสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมอย่างมีสุขภาวะ

Intermediate Care

ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วง
6 เดือนทองหลังพ้นภาวะวิกฤต

Dementia

ระบบบริการสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

Long-Term Care

ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

Palliative Care

ระบบการดูแลแบบประคับประคองในช่วงท้ายของชีวิต

Local Service Delivery

การจัดการโครงสร้างเครือข่ายระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัด

ข้อเสนอแนะ

เชิงนโยบาย

policy recommendations

จากผลลัพธ์การจัดกระบวนการ 7 ประเด็นหลัก ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ทีมได้วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลสรุปในทุกประเด็น ออกเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 เรื่อง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบรองรับสังคมสูงวัย

การพัฒนาหน่วยประสานการดูแล เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยในระดับจังหวัด (Care Coordination Unit - CCU)

จากสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ว่าระบบบริการสุขภาพ ของไทยจะมีหลายระดับและครอบคลุม แต่ยังคงมีช่องว่างสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ หน่วยงานต่างๆ ไม่ได้ประสานงานอย่างไร้รอยต่ออย่างแท้จริง และอาจให้บริการแก่ประชาชนได้ไม่เต็มศักยภาพ ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีภาระอันหนักอึ้ง ทั้งการบริการสุขภาพและการบริการทางสังคม รวมทั้งประชาชนเอง ไม่ทราบถึงสิทธิของตนที่จะได้รับการบริการ หรือหากทราบก็ไม่มีผู้ที่คอยประสานงานเพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว

ผู้จัดทำโครงการจึงเห็นว่าควรมี “หน่วยประสานการดูแล” (Care Coordination Unit - CCU) อยู่ประจำโรงพยาบาลระดับต่างๆ ตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปถึงโรงพยาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญสำหรับการดูแลอย่างรอบด้านแก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ญาติ และ อปท. ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังว่าจะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางสุขภาพ และสังคมมากขึ้น

ดาวน์โหลดเอกสาร

การเสริมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

ปัจจุบัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการให้บริการประชาชนในชุมชนของตัวเองในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการและสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อปท. ยังไม่สามารถให้บริการแก่ผู้สูงอายุได้อย่างเต็มที่จากหลายสาเหตุ ได้แก่

- การมีโครงการและกองทุนจากหลายหน่วยงานหลายกระทรวง โดย อปท. เป็นผู้ดำเนินการแต่ไม่มีอำนาจบริหารจัดการงบประมาณในตัวเอง
- อปท. ประสบความยากลำบากในการเข้าถึงฐานข้อมูลจากราชการส่วนภูมิภาค
- อปท. หลายแห่งยังไม่ได้จัดกระบวนการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเล่าถึงปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ แก่ อปท. มากพอ
- ยังมีผู้สูงอายุและผู้ดูแลหลักที่เป็นญาติจำนวนมากที่ต้องการบริการเสริมเพิ่มเติม เช่น รถสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ด้วยเหตุนี้ ผู้จัดทำโครงการจึงได้มีข้อเสนอแนวทางการเสริมพลังให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของชุมชน และเพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ดาวน์โหลดเอกสาร

การปรับเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการดูแลระยะกลาง (Intermediate care) อย่างเข้มข้นในระดับโรงพยาบาลชุมชน

การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (intermediate care - IMC) มีความสำคัญในแง่ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่กลายเป็นผู้พิการ ช่วยให้ดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระ ลดอัตราการกลายเป็นผู้ป่วยระยะยาว และอาจลดภาระทางการคลังของประเทศได้ในอนาคต

แต่ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในประเทศไทย ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และไม่ไร้รอยต่ออย่างแท้จริง โรงพยาบาลศูนย์แออัด ทำให้คนไข้ถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลก่อนกำหนด ทั้งยังเน้นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ซึ่งเสี่ยงว่าผู้ป่วยจะหลุดออกจากระบบการรักษา ท้ายที่สุดจะไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเพียงพอ

ทีมจัดทำโครงการจึงเสนอให้ปรับเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ของ สปสช. โดยคาดหวังว่าจะส่งเสริม ให้โรงพยาบาลชุมชนมีทรัพยากรและศักยภาพมากขึ้นในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง เพิ่มการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเข้มข้น เพียงพอ ต่อเนื่อง และไม่หลุดหายจากระบบ

ดาวน์โหลดเอกสาร

การปรับกลไกการทำงานของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการผลักดันนโยบายรองรับสังคมสูงวัย (Governing mechanism)

รัฐบาลไทยหลายยุคหลายสมัยได้ให้ความสำคัญกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ รวมถึงการพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุมาโดยตลอด แต่กระบวนการทำงานของ กผส. และคณะอนุกรรมการต่างๆ ยังขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ผู้จัดทำโครงการจึงได้เสนอแนวทางการยกระดับการทำงานของ กผส. และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องให้เกิดการออกแบบติดตามนโยบายที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และก่อเกิด “วงจรสะท้อนผล” (feedback loop) ในการกำหนดนโยบาย โดยคาดหวังว่าการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคประชาสังคม รวมถึงการสร้าง feedback loop ในการกำหนดนโยบาย จะทำให้การออกแบบและพัฒนานโยบายเป็นไปโดยคำนึงถึงประชาชนเป็นศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลดเอกสาร

ถอดบทเรียนและแนวทาง

การจัดกระบวนการ

โพลิซี ไดอะล็อก

practical guidelines

  • logo
  • ต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับ Policy Dialogue

    ช่องทางการสื่อสาร

  • logo

    สำนักงานใหญ่

    บริษัท ไรซ์ อิมแพค จำกัด
    14 ซอยเจริญนคร 2 ถนนเจริญนคร
    แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน
    กรุงเทพ 10600

Copyright © 2022 RISE Impact. All rights reserved.