คุณค่าของกระบวนการ
สิ่งที่เราเชื่อและประโยชน์ของ
‘Policy Dialogue’
หลังจากจัดกระบวนการกว่า 30 ครั้ง
RISE Impact ได้ทบทวนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และพบว่า Policy Dialogue
มีคุณค่าใน 2 มิติสำคัญ คือ
“ผู้มีส่วนร่วมได้แลกเปลี่ยนโลกทัศน์
เกิดการแลกเปลี่ยนกัน ทำให้เห็นโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะแก้ปัญหา หรือลงมือทำในทางที่ต่างออกไป รวมถึงเห็นศักยภาพของตนเองในฐานะผู้ขับเคลื่อนในเรื่องนั้นๆ มากขึ้น
เกิดผลในระยะสั้น
เห็นวิธีการที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดการลงมือทำทันทีหลังจากการแลกเปลี่ยนในกระบวนการ เช่น การสื่อสารข้อมูลในวงกว้าง การนำความเห็นจากวงไปปรับใช้ในหน้างานที่ทำอยู่
เกิดการเปลี่ยนแปลงระยะยาว
เกิดเครือข่ายระหว่างองค์กรของผู้เข้าร่วม ทำให้ได้ร่วมกันผลักดันประเด็นนโยบายต่อไป เช่น การชักชวนกันมาร่วมทำงานวิจัย การทำโครงการพัฒนาเครื่องมือร่วมกัน
คุณค่าต่อการสร้าง
การเปลี่ยนแปลง
เชิงระบบ
ผู้มีส่วนร่วมได้แลกเปลี่ยนโลกทัศน์
เกิดการแลกเปลี่ยนกัน ทำให้เห็นโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะแก้ปัญหา หรือลงมือทำในทางที่ต่างออกไป รวมถึงเห็นศักยภาพของตนเองในฐานะผู้ขับเคลื่อนในเรื่องนั้นๆ มากขึ้น
เกิดผลในระยะสั้น
เห็นวิธีการที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดการลงมือทำทันทีหลังจากการแลกเปลี่ยนในกระบวนการ เช่น การสื่อสารข้อมูลในวงกว้าง การนำความเห็นจากวงไปปรับใช้ในหน้างานที่ทำอยู่
เกิดการเปลี่ยนแปลงระยะยาว
เกิดเครือข่ายระหว่างองค์กรของผู้เข้าร่วม ทำให้ได้ร่วมกันผลักดันประเด็นนโยบายต่อไป เช่น การชักชวนกันมาร่วมทำงานวิจัย การทำโครงการพัฒนาเครื่องมือร่วมกัน
คุณค่าต่อการสร้าง
การเปลี่ยนแปลง
เชิงระบบ
ผู้มีอำนาจในการกำหนดหรือตัดสินใจระดับนโยบาย
- •
ได้รับข้อมูลหรือข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบายจากผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการ และอาจช่วยลดความตึงเครียดของความเห็นต่างลงได้
- •
ได้ทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนนโยบาย หรือออกแบบการแก้ไขปัญหาในอนาคต
ผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนาหรือเสนอนโยบาย
- •
เป็นเครื่องมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่สร้างการมีส่วนร่วม ทำให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์ต่างๆ ได้รวดเร็วและยืดหยุ่นกว่าการทำงานวิจัย
- •
เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยน เพื่อหาจุดร่วมระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ ทุกระดับ
- •
เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมที่มาจากบริบทที่ต่างกัน ได้แลกเปลี่ยน เห็นจุดร่วมและจุดต่าง ทำให้เกิดทางเลือกใหม่ๆ ที่อาจเป็นการต่อยอดนโยบายต่อไป
ผู้ที่ต้องนำนโยบายไปปฏิบัติใช้
- •
เป็นพื้นที่ ‘ส่งเสียง’ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายที่จะมีผลกับการทำงาน ทั้งยังได้รับรู้ข้อจำกัดของผู้ที่เกี่ยวข้อง ในบทบาทอื่น
- •
เมื่อได้มีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนสำคัญของประเด็นนั้นๆ นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการลงมือทำจริง
- •
เกิดการแลกเปลี่ยนและแชร์ทรัพยากร ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ระหว่างพื้นที่และองค์กร
เราทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย
ได้มีโอกาสทำความเข้าใจประเด็นเชิงนโยบาย ร่วมให้ความเห็นบนฐานความรู้ และสะท้อนความต้องการและสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ของนโยบายนั้นๆ เพื่อที่ผู้ที่มีบทบาทจะนำข้อมูลไปทำงานต่อ
สรุปความคิดเห็น
จากผู้เข้าร่วมต่อกระบวนการ
คิดว่ากิจกรรมและหัวข้อที่แลกเปลี่ยน
เป็นประโยชน์ ต่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
ผู้ตอบแบบสอบถาม : 213 คน
คิดว่าตัวเองและหน่วยงาน
ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วม
ผู้ตอบแบบสอบถาม : 151 คน
สามารถนำประเด็นจากการแลกเปลี่ยนไปต่อยอดในการทำงานหรือในหน่วยงานได้
ผู้ตอบแบบสอบถาม : 54 คน
หมายเหตุ : ด้วยข้อจำกัดของช่องทางหรือความสะดวก ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมได้ครบทุกคน และมีบางคำถามที่เป็นการเก็บข้อมูลจากเพิ่มเติมระหว่างโครงการ จึงทำให้ตัวเลขจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามไม่เท่ากันทั้งหมด