กลไกติดตามและพัฒนา

นโยบายเพื่อสังคมสูงวัย

(Governing Mechanism)

ทำอย่างไรให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ของการออกแบบนโยบาย

cover image

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เข้าสู่สังคมสูงวัย นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการวางแผนและกำหนดทิศทางของภาคส่วนต่างๆ เพื่อตอบสนองกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง

expect-ressult-1

จะดีกว่าไหม

หากประเทศไทยมีกลไกการติดตาม ทบทวน และพัฒนานโยบาย เพื่อรองรับสังคมสูงวัยให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มองปัญหาในเชิงระบบ ร่วมมือกัน
จากหลายภาคส่วน

ไม่ได้มุ่งขับเคลื่อนผ่านกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง
แต่ยังร่วมหารือกับภาคการเมือง ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย และทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร

expect-ressult-2

ภาพการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ณ อาคารรัฐสภา

ถนนอู่ทองใน 20 สิงหาคม 2552

โดย พีรพัฒน์ วิมลรังครัตน์

expect-ressult-3

เกิดการออกแบบติดตามนโยบาย
ที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

เพื่อให้มีนโยบายที่สนับสนุนให้เกิดบริการ
และสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ

ช่วยเอื้อให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตัวเองได้มากที่สุด
ลดภาวะพึ่งพิงโดยไม่จำเป็น

!

แต่ปัจจุบัน การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อรองรับสังคมสูงวัยของไทยยังไม่ชัดเจน และขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

circle image
elderly home

แต่ยังมีความท้าทายหลายประการ

เพื่อให้เกิดระบบการบริการที่ตอบโจทย์

ขาดทิศทางของนโยบาย ที่ชัดเจนเพื่อการบูรณาการและทำงานร่วมกัน ภายใต้กระทรวงเดียวกัน หรือต่างกระทรวงอย่างมีประสิทธิภาพ

ความซ้ำซ้อนในการกำหนดและนำนโยบายไปปฏิบัติใช้

งบประมาณจำกัด และขาดการสนับสนุน การพัฒนาทักษะ และประเมินคุณภาพ ของบริการอย่างเป็นระบบ

ขาดองค์ประกอบและ มุมมองจากสื่อรวมถึง ภาคประชาสังคม

โจทย์สำคัญ

คือการหาคำตอบว่า กลไกดังกล่าวควรมีหน้าตาอย่างไร จะเกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสร้างเจตจำนงทางการเมืองในเรื่องการรองรับสังคมสูงวัย

กระบวนการหาคำตอบRISE Impact ได้จัดกระบวนการหารือเชิงนโยบาย ในประเด็นนี้ทั้งหมด 3 ครั้ง รวมผู้เข้าร่วมกว่า 29 คน
ระบบติดตามนโยบายเพื่อรองรับสังคมสูงวัย- หารือภาพสำเร็จของระบบการติดตามนโยบายเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ระดมความคิดและอภิปรายรายละเอียด บทบาทหน้าที่ โครงสร้างอำนาจ โครงสร้างบุคลากร- อภิปรายการนำเสนอผลการติดตามนโยบายเพื่อรองรับสังคมสูงวัยกลุ่มที่เป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจในการขับเคลื่อนเรื่องผู้สูงอายุ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับร่างโมเดลคณะทำงานหรือกำกับติดตาม หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารายละเอียดข้อเสนอเชิงนโยบายระบบขับเคลื่อน พัฒนา และติดตามนโยบายเพื่อรองรับสังคมสูงวัย- ร่วมระบุบทบาทของแต่ละภาคส่วน และช่องว่างในระบบที่มีในปัจจุบัน- ร่วมระดมความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตัวแทนจากหน่วยงานราชการที่มีบทบาทหลักตามโครงสร้าง หรือกำลังทำงานขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการรองรับสังคมสูงวัยในปัจจุบันกลไกติดตามนโยบายรองรับสังคมสูงวัย- นำเสนอแนวทาง และหารือความเป็นไปได้ในสองประเด็น คือ “การปรับโครงสร้างกลไกที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ประชาชนสามารถร่วมติดตามและพัฒนานโยบายเพื่อรองรับสังคมสูงวัยได้อย่างต่อเนื่อง” และ “การทำให้ประชาชนตระหนักรู้ในบทบาทการทำงานของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย”ตัวแทนหน่วยงานรัฐที่มีพันธกิจในการขับเคลื่อนเรื่องผู้สูงอายุ ตัวแทนจากภาคประชาสังคม ตัวแทนสื่อมวลชน และตัวแทนจากคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายรองรับสังคมสูงวัย
ข้อสรุปจากกระบวนการจากกระบวนการหารือร่วมกันของผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วนได้บทสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายดังนี้

การออกแบบโครงสร้างบุคลากรและการทำงานของ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

ข้อเสนอเชิงนโยบาย

สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการ

Policy dialogue ไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์เชิงเนื้อหา แต่ยังสามารถสร้างคุณค่าในการผลักดันเชิงนโยบาย

  • ผู้เข้าร่วมสะท้อนว่าวงหารือมีความ เป็นกันเอง ช่วยเปิดมุมมองที่แตกต่าง และสร้างการมีส่วนร่วม

    พูดคุยกันง่ายขึ้น กว้างขึ้น แม้ว่าจะเคยร่วมงานกันมาก่อน เห็นความสำคัญในหัวข้อนี้และอยากมีส่วนร่วมต่อ อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องท่านอื่นๆ ได้รับรู้เช่นกัน

  • ผู้เข้าร่วมเห็นจุดร่วมและข้อสรุปที่ตรงกัน เห็นว่าควรมีกลไกติดตามเชิงนโยบาย

    และไม่เห็นด้วยกับแนวทางการจัดตั้งองค์กร หรือกลไกใหม่ เนื่องจากจะยิ่งทำให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่ควรใช้ประโยชน์จากกลไกที่มีอยู่เดิม เช่น “คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย” ภายใต้คณะกรรมการผู้สูงอายุ แห่งชาติ (กผส.) และพิจารณาปรับการทำงานภายใต้กลไกเดิมแทน

    มีความเห็นร่วมกันในหลายประเด็น อาทิ การทำให้บทบาทและผลงานของ กผส. เป็นที่รับรู้มากขึ้น ให้สังคมช่วยกันติดตามผลจากนโยบาย เป็นต้น

  • เกิดการปฏิบัติจริงทันที

    ส.ส. ที่มาร่วมในวงหารือนโยบายฯ ได้แจ้งในวงหารือว่า จะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรให้มีการพิจารณาตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและติดตามการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และได้ยื่นญัตติเพื่อเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวแล้ว

    กรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ได้เพิ่มรายชื่อคณะ อนุกรรมการฯ ในเว็บไซต์เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่าง เปิดเผยขึ้น โดยที่ก่อนหน้านี้ไม่มีข้อมูลอยู่และเป็นประเด็นหารือว่าควรมีการเปิดเผยกับสาธารณะ

ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง

จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการที่ใช้วิธีการอันหลากหลาย จึงเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้น

  • การปรับกลไกการทำงานของ คณะกรรมการผู้สูงอายแห่งชาติ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการผลักดันนโยบายรองรับสังคมสูงวัย

  • logo
  • ต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับ Policy Dialogue

    ช่องทางการสื่อสาร

  • logo

    สำนักงานใหญ่

    บริษัท ไรซ์ อิมแพค จำกัด
    14 ซอยเจริญนคร 2 ถนนเจริญนคร
    แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน
    กรุงเทพ 10600

Copyright © 2022 RISE Impact. All rights reserved.