ประเทศไทยพร้อมแค่ไหน?

ที่จะรองรับผู้มีภาวะพึ่งพิง*

ระบบบริการดูแลระยะยาว (Long-Term Care) นโยบายสำคัญที่ต้องผลักดันต่อ

*หรือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน-ติดเตียง

cover image

ประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกว่า
245,907 คน* จากประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 11 ล้านคน

ถือเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อย
แต่ประเทศไทยยังขาดระบบบริการการดูแลระยะยาวที่เหมาะสม
ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของผู้ป่วย ครอบครัว ผู้ดูแล
และระบบสาธารณสุขในภาพรวม

*ข้อมูลจาก รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 (มส.ผส.)

expect-ressult-1

คงจะดี.. หากประเทศไทย มีระบบบริการ
การดูแลระยะยาวที่ครอบคลุมประชากรสูงวัย
ได้ถ้วนหน้า และจัดสรรบริการพื้นฐาน
ที่ตอบสนองความต้องการได้

มีหลักประกันให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกทอดทิ้งและได้รับ
การดูแลเมื่อเข้าวัยชราและเมื่อมีภาวะพึ่งพิง ได้รับบริการ
ทางสุขภาพและสังคมที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ

เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี
ของความเป็นมนุษย์

ได้รับการดูแลที่บ้าน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
ไม่บกพร่องในปัจจัย 4 ทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค รวมถึงจิตใจ

expect-ressult-2
expect-ressult-3

ได้รับการดูแลที่ครอบคลุมทั้งมิติสุขภาพ
สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

มีสุขอนามัยที่ดี ได้รับวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น มีผู้ดูแล
ใกล้ชิด ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมากเกินไป และไม่เป็น
ภาระของครอบครัว เป็นต้น

!

เพื่อให้ได้รับบริการและการสนับสนุนดังกล่าว ต้องมีทรัพยากรสำคัญ คือ

1) กำลังคน ได้แก่ ผู้ดูแล ซึ่งต้องมีความรู้ ประสบการณ์ และเวลา

2) งบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดหาอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลือง

circle image

ค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม (บาท/คน/เดือน)

elderly home

ในการดูแลระยะยาว กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงมีค่าใช้จ่าย 19,129 บาท/คน/เดือน และผู้สูงอายุติดบ้านมีค่าใช้จ่าย 9,667 บาท/คน/เดือน รวมค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และค่าเดินทาง*

ในขณะที่ผู้สูงอายุในบ้านเรา ได้รับเบี้ยยังชีพเริ่มต้นเพียงคนละ 600 บาทถ้วน

*ข้อมูลจาก รายงานทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 138 มีนาคม 2561 “ระบบประกันการดูแลระยะยาว : ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย”

แต่ยังมีความท้าทายหลายประการ

เพื่อให้เกิดระบบการบริการที่ตอบโจทย์

ระบบการเงินการคลังเพื่อจัดบริการการดูแลระยะยาวของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต

ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องขอบเขตการบริการและชุดบริการสำหรับผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียงที่ชัดเจน

การขาดปัจจัยที่สนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำหน้าที่ได้อย่าง มีคุณภาพ

ขาดการบูรณาการการจัดบริการทางสังคมกับบริการสาธารณสุข โดยที่การพัฒนากำลังคน (care manager และ caregiver) ยังไม่ทันสถานการณ์

ทำอย่างไร?

เพื่อให้มีข้อเสนอระบบหลักประกันการดูแลระยะยาวที่มีรายละเอียดชัดเจน เป็นที่ยอมรับและสามารถจะนำไปปฏิบัติจริงได้

และเพื่อพัฒนาข้อเสนอรูปแบบและแนวทางการทำงานของท้องถิ่น ที่จะสามารถทำให้เกิดแผนการดูแล ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง โดยใช้การสนับสนุนทางการเงินจากแหล่งต่างๆ ร่วมกับการระดมทรัพยากร ในท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน ติดเตียงได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ

โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อย่อย

ระบบหลักประกันการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทบาทของท้องถิ่นในการจัดระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

กระบวนการหาคำตอบRISE Impact ได้จัดกระบวนการหารือเชิงนโยบาย ในประเด็นนี้ทั้งหมด 6 ครั้ง รวมผู้เข้าร่วมกว่า 63 คน
ระบบหลักประกันการดูแลระยะยาวหารือต่อเนื่อง โดยใช้ 3 ประเด็นหลักในการชวนผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและให้ความเห็นเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพกองทุนหลักประกันระยะยาวที่ควรจะเป็น ได้แก่- บริการที่เหมาะสม ที่มีคุณภาพเพียงพอที่ผู้เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่ารับได้ โดยหารือเรื่องขอบเขตของบริการที่เหมาะสม และข้อควรพิจารณาต่อการสรุประดับคุณภาพที่เพียงพอ- รูปแบบของการจัดการที่จะทําให้เกิดบริการเหล่านั้นรวมถึงการควบคุมคุณภาพ- แหล่งเงินและช่องทางการจัดเก็บเงินเพิ่ม พิจารณาจากข้อมูลของข้อเสนอเดิม และชวนคุยในฉากทัศน์ที่มีการเก็บเงินจากประชาชนที่มีระดับเศรษฐานะที่แตกต่างกันผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาข้อเสนอหลักประกันการดูแลระยะยาวที่เคยมี ผู้ที่ขับเคลื่อนงานบริการระยะยาว นักวิชาการนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจและมีประสบการณ์ ในการคิดเรื่องการร่วมจ่ายต่อระบบหลักประกันสุขภาพ บทบาทของท้องถิ่นในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ- แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการทำงานบริการการดูแลระยะยาว ระหว่างพื้นที่ที่มีบริบทต่างกัน โดยตัวแทนจากพื้นที่ได้สะท้อนถึง บทบาทหน้าที่ของ caregiver และ care manager การทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความท้าทายหรืออุปสรรค ในการทำงานของท้องถิ่นในปัจจุบัน - ร่วมกันตั้งเป้าหมาย หาโอกาสในการพัฒนาระบบบริการ การดูแลระยะยาวที่ดี โดยร่วมกันมองถึงขอบเขตบริการทางสังคม ที่น่าจะเกิดขึ้นและเป็นไปได้ในการให้บริการในพื้นที่ รวมถึงบทบาทที่ท้องถิ่นเห็นว่าเป็นช่องว่าง และอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวในพื้นที่ตัวแทนจากพื้นที่โดดเด่นด้านการบริการระยะยาวบทบาทของท้องถิ่นในการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว- ทบทวนภาพสถานการณ์ ผู้เล่นสำคัญในพื้นที่ และประเด็นต่อเนื่องที่เป็นผลจากครั้งก่อน- แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมที่มาจากบทบาท/องค์กรที่แตกต่างกัน ในประเด็น 1. การจัดตั้งและใช้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นหน่วยหลักในการดำเนินการเรื่องการเงินในพื้นที่ 2. การทำให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทั้งจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสุข มีความเข้าใจตรงกันและทำงานสนับสนุนกันได้อย่างราบรื่น 3. การเพิ่มบทบาทท้องถิ่นและแนวทางเริ่มต้นในการสนับสนุนบริการทางสังคม- สรุปผล ข้อจำกัด โอกาสที่แต่ละหน่วยงานน่าจะนำไปปรับใช้ได้ และประเด็นที่ควรขับเคลื่อนต่อตัวแทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมกิจการผู้สูงอายุ พม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระบบหลักประกันการดูแลระยะยาวกิจกรรมหารือต่อเนื่อง โดยแลกเปลี่ยนใน 2 ประเด็นหลัก คือ- บริการที่ควรจะเป็น สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลระยะยาว- ผู้ให้บริการที่ควรจะเป็น เช่น รัฐส่วนกลาง รัฐท้องถิ่น ภาคประชาสังคม เอกชน กิจการเพื่อสังคมผู้เข้าร่วมที่มีประสบการณ์ตรงในการให้บริการ ได้แก่ - ตัวแทนภาครัฐจากสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ- ตัวแทนภาครัฐที่ให้บริการหลักด้านสุขภาพ ได้แก่ care manager จากโรงพยาบาลชุมชน- เอกชนที่ให้บริการในรูปแบบบ้านพักคนชรา- วิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise) ให้บริการที่บ้าน - สตาร์ตอัปที่ให้บริการที่บ้านและใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ - ตัวแทนญาติหรือคนในครอบครัวผู้ป่วยกลุ่มที่ติดบ้านติดเตียง และมีอาการทางสมองระบบหลักประกันการดูแลระยะยาวแลกเปลี่ยนความเห็นใน 3 ประเด็นหลัก คือ- ภาพอนาคตที่คาดหวัง : กลุ่มเป้าหมายและกรอบบริการสำหรับผู้สูงอายุ- ภาพอนาคตกองทุนหลักประกัน - แนวทางการขับเคลื่อนต่อ- นักวิชาการ นักวิจัย และแพทย์ ที่ศึกษาและขับเคลื่อนระบบหลักประกันการระยะยาว ทั้งในด้านบริการทางสุขภาพและบริการทางสังคม - ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - ตัวแทน care manager- ตัวแทนญาติที่มีประสบการณ์การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงบทบาทของท้องถิ่นในการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว แลกเปลี่ยนในประเด็นหลัก ได้แก่- ความท้าทายและโอกาสในการปรับรูปแบบและแนวทางการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรอบงาน บุคลากร และทรัพยากรอื่นๆ)- การเพิ่มศักยภาพของชุมชน ท้องถิ่น และบทบาทที่หน่วยงานอื่นสนับสนุนให้เกิดขึ้นได้- ตัวแทนภาครัฐในพื้นที่ระดับจังหวัดและตำบล ทั้งฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสาธารณสุข- ตัวแทนภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดใช้นโยบาย เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรมกิจการผู้สูงอายุ พม. รวมถึงด้านงบประมาณ (สปสช. และ สตง.)- ตัวแทนเครือข่ายสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย- นักวิจัยและผู้ที่ขับเคลื่อนในประเด็นนี้
ข้อสรุปจากกระบวนการจากกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมจากผู้เข้าร่วมอันหลากหลายสามารถเกิดข้อสรุปในเชิงเนื้อหาได้ดังนี้

ระบบหลักประกันการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

  • ข้อสรุป

    ข้อสรุปเกี่ยวกับชุดบริการที่สำคัญและจำเป็นในการจัดบริการการดูแลระยะยาว

ดาวน์โหลดข้อสรุป

บทบาทของท้องถิ่นในการจัดระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

  • ระยะสั้น

    ข้อเสนอ 1

    ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมบทบาทการทำงานด้านผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น

  • ข้อเสนอ 2

    การพัฒนาบุคลากรและแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ สาธารณสุข ในท้องถิ่น

  • ระยะยาว

    ข้อเสนอ 3

    การเพิ่มบทบาทและอำนาจในการบริหารจัดการให้ท้องถิ่น สามารถจัดการทาง การเงินและจัดสรรบุคลากรเองได้

ดาวน์โหลดข้อสรุป

สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการ

Policy dialogue ไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์เชิงเนื้อหา แต่ยังสามารถสร้างคุณค่าในการผลักดันเชิงนโยบาย

  • เข้าใจความต่างและเห็นจุดร่วมชัดขึ้น

    เห็นจุดร่วมเรื่องการจัดตั้งกองทุนหลักประกัน เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้และเหมาะสมกับอนาคต ในระยะยาว ในขณะเดียวกัน ยังเกิดโอกาสให้ได้ ทำความเข้าใจฐานคิดของการออกแบบรายละเอียด ข้อเสนอที่ต่างกัน แต่การหารือช่วยให้เห็นแนวทางในการขับเคลื่อนร่วมกันต่อ

  • ช่วยเปิดมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้อง และสร้างการรับรู้

    ผู้ดูแลที่เป็นญาติ ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการ นำไปใช้ในชีวิต จากที่ไม่เคยทราบข้อมูลเกี่ยวกับ บริการหรือสวัสดิการของภาครัฐมาก่อน

    ตัวแทนบุคลากรสาธารณสุข ตระหนักถึงความทุกข์ของญาติในการดูแลผู้ป่วย ทำให้อยากพัฒนางานต่อ และเห็นโอกาสในการจัดการอบรมให้ญาติหรือ เสริมสร้างชุมชนให้ดูแลผู้ป่วยได้

  • ผู้เข้าร่วมจากต่างพื้นที่ได้เห็นรูปแบบการจัดระบบบริการที่แตกต่างกัน เห็นแนวทางทำให้ดีขึ้น และเกิดโอกาสการวางแผนทำงานร่วมกันในอนาคต

    ตัวแทนจากท้องถิ่นได้ค้นพบว่า มีแนวทางปฏิบัติที่สามารถทำให้งานดีขึ้นได้ เป็นโอกาสที่จะนำกลับไปสื่อสารกับทีมปฏิบัติงานและพัฒนางานที่ทำอยู่

    หลายท่านแสดงความสนใจต่อแนวคิดการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ปฏิบัติงาน หรือแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างพื้นที่ที่เป็นมากกว่าการดูงาน แต่อาจให้ผลดีกว่า เช่น ระบบพี่เลี้ยง ทั้งยังเห็นความสำคัญของการมีวงหารือแลกเปลี่ยนกัน โดยมีหน่วยงานส่วนกลางเป็นเจ้าภาพหลัก แต่ยังไม่ได้มีข้อสรุปที่ชัดเจน

  • เกิดโอกาสในการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในอนาคต

    ผู้เข้าร่วมเห็นประโยชน์ในการร่วมแลกเปลี่ยนจากมุมการทำงานของตัวเอง เห็นความเชื่อมโยงแม้มีบทบาทต่างกัน จึงทำให้การแลกเปลี่ยนขยายประเด็นเป็นภาพบทบาทของท้องถิ่นที่ควรทำและเกี่ยวข้องกับ หน่วยงานอื่น โดยเห็นพ้องกันว่า ท้องถิ่นต้องมีบทบาทเป็นหลักในการดำเนินการ

  • หน่วยงานของภาครัฐได้ปรับความเข้าใจร่วมกัน

    ทั้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย ด้วยกันเอง และกับหน่วยงานในพื้นที่ และเป็นโอกาสให้ ผู้กำหนดนโยบายได้ทำความเข้าใจความท้าทายของ การทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ได้รับฟังปัญหา และชี้แจงส่วนที่เป็นข้อกังวลของผู้ปฏิบัติงาน

ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง

จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการที่ใช้วิธีการอันหลากหลาย จึงเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้น

  • การพัฒนาหน่วยประสาน การดูแลเพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยในระดับจังหวัด (Care Coordination Unit - CCU)

  • การเสริมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

  • การปรับกลไกการทำงานของ คณะกรรมการผู้สูงอายแห่งชาติ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการผลักดันนโยบายรองรับสังคมสูงวัย

  • logo
  • ต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับ Policy Dialogue

    ช่องทางการสื่อสาร

  • logo

    สำนักงานใหญ่

    บริษัท ไรซ์ อิมแพค จำกัด
    14 ซอยเจริญนคร 2 ถนนเจริญนคร
    แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน
    กรุงเทพ 10600

Copyright © 2022 RISE Impact. All rights reserved.