ระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบใด
ที่คนไทยต้องการ?
การจัดการโครงสร้างเครือข่ายบริการสุขภาพระดับจังหวัด (Local Service Delivery Network) นโยบายเพื่อผู้สูงอายุที่ต้องจับเข่าคุย
ปัจจุบัน ยังมีผู้สูงอายุ
ที่เข้าไม่ถึงการรักษาหรือตกหล่น
จากบริการสุขภาพที่ควรได้รับ
ส่งผลต่อสุขภาพกายใจของผู้สูงอายุและคนในครอบครัว ทั้งยังเสียโอกาสทางเศรษฐกิจเมื่อผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลตนเองได้
จะดีกว่าไหม?
หากประเทศไทยมีระบบดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม และไร้รอยต่อ สามารถยกระดับเครือข่ายการบริการ ในท้องถิ่นให้เป็นมาตรฐานและครอบคลุม
- มีหน่วยประสานงานเรื่องสิทธิในโรงพยาบาล
- ไม่ยุ่งยากเรื่องข้อมูลและการติดต่อ
- มีบริการรถรับ-ส่งจากบ้านถึงโรงพยาบาล
- มีกลุ่มให้คำปรึกษาและกำลังใจแก่ครอบครัว
- มีอุปกรณ์ที่จำเป็นให้หมุนเวียนใช้ฟรี ฯลฯ
เพิ่มการเข้าถึงระบบบริการที่จำเป็น
มีชีวิตยามชราที่แข็งแรง ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ได้รับบริการสุขภาพครบถ้วน ต่อเนื่อง และทันเวลา ทั้งด้านการรักษาและการป้องกันโรค รวมถึงการทำกายภาพฟื้นฟู
จำเป็นต้องมีระบบที่รองรับสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
เพื่ออำนวยความสะดวก และลดอัตราที่ผู้สูงอายุจะเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงโดยไม่จำเป็น
สัดส่วนผู้สูงอายุ ต่อประชากรทั้งหมด (%)
จากข้อมูลปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุกว่า 12 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 18% จากประชากรทั้งหมด 66.5 ล้านคน และคาดการณ์ว่าภายใน ปี พ.ศ. 2565 สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด* ซึ่งหมายถึงการเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Aged Society)”
*ข้อมูลจาก รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563 โดย มส.ผส.
แต่ยังมีความท้าทายที่ต้องฝ่าฟัน
เพื่อให้เกิดนโยบายที่ตอบโจทย์
การนำรูปแบบการจัดการที่มีอยู่ไปทำซ้ำหรือขยายผลในแต่ละพื้นที่ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากบริบทที่แตกต่าง
ในปัจจุบัน พยาบาลและนักกายภาพบำบัดมักต้องทำหน้าที่ประสานการดูแลไปด้วย ทำให้มีภาระงานหนักเกินควร
ขาดการบูรณาการการทำงานระดับหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
ขาดระบบขนส่งสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องใช้กายอุปกรณ์ ทำให้เข้ารับบริการสุขภาพและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ยากลำบาก
ระบบการส่งต่อคนไข้ยังเน้นเป็นรายครั้งและดูแลเฉพาะโรค ทำให้หน่วยงานในพื้นที่ที่นอกเหนือจากโรงพยาบาลชุมชนไม่ได้รับข้อมูลคนไข้อย่างทั่วถึง
ภาครัฐขาดระบบการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว (respite care) รวมถึงระบบที่สามารถให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาแก่ญาติที่เป็นผู้ดูแลได้
ทำอย่างไร?
จึงสามารถพัฒนาการจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในระดับจังหวัด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการสุขภาพที่ดีขึ้น อย่างน้อย 4 บริการสุขภาพ* ที่มีความจำเป็นต่อการรองรับสังคมสูงวัย
การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long-Term Care)
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม และ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care)
ข้อเสนอที่ 1
การบูรณาการข้อมูลเพื่อการดูแลอย่าง รอบด้าน
ข้อเสนอที่ 2
การสร้างพื้นที่และบริการดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว (Respite Care)
ข้อเสนอที่ 3
การจัดกลุ่มหนุนใจ (Support Group) ให้ผู้ดูแล
ข้อเสนอที่ 4
การจัดระบบรถรับส่งให้เข้าถึงบริการสุขภาพและบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุทั้งกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง
ข้อเสนอที่ 5
การพัฒนาหน่วยประสานการดูแลเพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยในระดับจังหวัด
สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการ
Policy dialogue ไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์เชิงเนื้อหา แต่ยังสามารถสร้างคุณค่าในการผลักดันเชิงนโยบาย
ผู้เข้าร่วมหลากหลายระดับได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจและมีแรงบันดาลใจอย่างมาก เนื่องจากประเด็นเหล่านี้ เป็นปัญหาสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบัน เกิดความคิดเห็นผู้เข้าร่วม หลายระดับ หลายหน่วยงาน ทั้งระบบบริการสุขภาพ และหน่วยงานที่ดูแลคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม
ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีความรู้สึกเชิงบวกต่อข้อเสนอเรื่องการบูรณาการข้อมูล
ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีความรู้สึกเชิงบวกต่อข้อเสนอเรื่องการบูรณาการข้อมูล
ผู้เข้าร่วมวงหารือทุกคนสนใจและรู้สึกว่าข้อเสนอเรื่องการจัดกลุ่มหนุนใจ (Support Group) สร้างแรงบันดาลใจ
ผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กรมกิจการผู้สูงอายุ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มองว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ ทุกหน่วยงานกำลังพยายามทำอยู่และจะทำต่อไป หลังจากได้หารือในวงพูดคุย
ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง
จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการที่ใช้วิธีการอันหลากหลาย จึงเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้น
การพัฒนาหน่วยประสาน การดูแลเพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยในระดับจังหวัด (Care Coordination Unit - CCU)
การเสริมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การปรับกลไกการทำงานของ คณะกรรมการผู้สูงอายแห่งชาติ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการผลักดันนโยบายรองรับสังคมสูงวัย