ฟื้นฟูผู้สูงวัย
ในห้วง 6 เดือนทอง
หลังพ้นระยะวิกฤต
ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) : นโยบายที่ควรให้ความสำคัญ
ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่ได้มุ่งเน้น
พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง
ที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้
ส่งผลให้ผู้ป่วยบางส่วนไม่ได้รับการฟื้นฟู หากได้รับก็ไม่เข้มข้นเพียงพอ หลุดหายออกไปจากระบบบริการสุขภาพก่อนหายดี ทำให้มีโอกาสเป็นผู้มีภาวะพึ่งพิง
จะดีแค่ไหน หากประเทศไทยมีระบบ
การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ที่มุ่งเน้นไปที่
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยได้เพียงพอ
และต่อเนื่อง
ผู้ป่วยได้รับการกายภาพบำบัดครบชั่วโมงอย่างเข้มข้น
(Intensive rehabilitation) และใกล้ชิดทีมสหวิชาชีพ โดย
ไม่ต้องยากลำบากกับการเดินทาง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชนบทห่างไกล
หากฟื้นฟูได้ทันท่วงที ผู้ป่วยมีโอกาสหายดี
และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ
สามารถกลับมาประกอบอาชีพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ผู้ป่วยและครอบครัวเองไม่เสียโอกาสในชีวิตนานเกินไป
ช่วยลดอัตราผู้มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งอาจลดค่าใช้จ่าย
ด้านการบริการดูแลระยะยาวในอนาคต
ของประเทศและตัวผู้ป่วยเองได้อย่างมหาศาล
การฟื้นฟูสมรรภภาพร่างกายผู้ป่วยภายใน 6 เดือนทองหลังพ้นระยะวิกฤต นับเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของของผู้ป่วยยังสามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้ โดยเฉพาะใน 3 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง สมองบาดเจ็บ และกระดูกสันหลังบาดเจ็บ
จำนวนผู้ป่วยใน ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย (คน)*
การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี
แปรผันตรงกับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ถึงความสำคัญของการดูแลระยะกลางได้อย่างดี
*ข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
แต่ยังมีความท้าทายหลายประการ
เพื่อให้เกิดระบบการบริการที่ตอบโจทย์
โรงพยาบาลศูนย์แออัดเกินไป
ส่วนโรงพยาบาลชุมชนยังไม่สามารถ
ให้บริการฟื้นฟูอย่างเข้มข้นได้
อย่างเต็มที่ยังเน้นไปที่การรักษา
แบบผู้ป่วยนอก (OPD) ซึ่งเป็นรูปแบบ
บริการที่ผู้ป่วยเสี่ยงจะหลุดออก
จากระบบ จากการแบกรับค่าใช้จ่าย
และการเดินทางที่ยากลำบาก
ระบบการเบิกจ่ายสำหรับโรงพยาบาล
ชุมชนที่ไม่เหมาะกับรูปแบบการ
บริการในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง
ส่งผลต่อจำนวนวันนอนและการรักษา
ที่ไม่เข้มข้นและต่อเนื่องพอ
ขาดแคลนบุคลากรสหวิชาชีพในระบบ
เช่น นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรม
บำบัด เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน
ภาคเอกชน ทำให้ผู้ป่วยบางกลุ่ม
เข้าถึงบริการได้ยาก เนื่องจากไม่มี
กำลังทรัพย์มากพอ
ระบบการส่งต่อข้อมูลและส่งต่อผู้ป่วย
ที่ยังไม่ไร้รอยต่อ (seamless)
อย่างแท้จริง ส่งผลให้ข้อมูลและ
ตัวผู้ป่วยตกหล่นจากระบบ
ระบบสุขภาพของไทยยังไม่ได้เน้นพัฒนา
ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง
อย่างจริงจัง และไม่เป็นบริการ
ภาคบังคับของระบบสาธารณสุข แม้รวม
เข้าไว้ใน Service Plan แล้ว
เน้นเพียงระบบการดูแลระยะยาว
ทำให้ปัญหายังไม่ถูกแก้ตั้งแต่ต้นเหตุ
ทำอย่างไร?
จึงจะเกิดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อผู้ป่วยและครอบครัวที่สุดและเกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่ออุดหนุน การจัดบริการดูแลระยะกลางโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการจัดบริการดูแลระยะกลางได้ดียิ่งขึ้น
ข้อเสนอ 1
การปรับเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการดูแลระยะกลางอย่างเข้มข้น ในระดับโรงพยาบาลชุมชน
ดูข้อเสนอฉบับเต็ม
ข้อเสนอเชิงนโยบายข้อเสนอ 2
ควรเน้นการให้บริการฟื้นฟูแบบผู้ป่วยใน (IMC ward) และการให้บริการฟื้นฟูที่บ้าน เพื่อการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อคนไข้ที่สุด
ข้อเสนอ 3
สมควรมีการปรับระบบส่งต่อผู้ป่วย ข้อมูล และกำลังคน ควบคู่ไปกับการปรับด้านงบประมาณ
ข้อเสนอ 4
เพิ่มความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะกลางแก่ทั้งประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดาวน์โหลดข้อสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการ
Policy dialogue ไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์เชิงเนื้อหา แต่ยังสามารถสร้างคุณค่าในการผลักดันเชิงนโยบาย
ผู้เข้าร่วมมีความเห็นร่วมค่อนข้างตรงกันในประเด็นช่องว่างของระบบ
ในเรื่องข้อจำกัดและอุปสรรคการทำงาน โดยเฉพาะประเด็นการบูรณาการข้อมูล การขาดแคลนนักกายภาพบำบัด และความต้องการในการปรับระบบการเบิกจ่ายในโรงพยาบาล แม้ว่าจะมีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ต่างกัน นั่นก็เพราะต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่เอื้อในพื้นที่
ผู้เข้าร่วมระดับปฏิบัติงานได้รับประโยชน์ ได้เห็นความพยายาม และความตั้งใจของหน่วยงานต่างๆ ทำให้มีความหวังต่อการพัฒนาระบบ
ได้นำข้อเสนอแนะต่างๆ มาเติมเต็มในพื้นที่ของตนเอง เห็นความสำคัญของผู้ป่วย และบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบความต้องการของผู้ป่วยจากญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจริง สามารถนำไปต่อยอดให้ตอบสนองได้จริง เห็นคุณค่าในวิชาชีพของตนเอง และเติมพลังใจ รวมไปถึง ด้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย
หน่วยงานของภาครัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้องรวมทั้งญาติผู้ดูแล ได้รับฟังกันและกันโดยตรง
ได้ร่วมกันหารือจากหลายฝ่าย ทั้งแพทย์ นักวิชาการ นักกายภาพบำบัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทำให้เห็นหนทางในการผลักดันประเด็นเหล่านี้ต่อไป
ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง
จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการที่ใช้วิธีการอันหลากหลาย จึงเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้น