บั้นปลายชีวิตคนไทย
อยู่อย่างไรจึงเป็นสุข ?

นโยบายระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) ที่ต้องชวนคุย

cover image

ปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
ในประเทศไทย วางอยู่บนฐานของการ
&lquote;ยื้อความตาย&rquote; เป็นหลัก

ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลที่แออัด ประกอบกับ 'อัตราการครองเตียง' ในโรงพยาบาลที่สูงขึ้นจาก 'อัตราการเจ็บป่วย' ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

expect-ressult-1

จะเป็นอย่างไร
หากเรายึดแนวคิดการ ‘ตายดี’
และ ‘ไม่ยื้อชีวิต’

ผู้ป่วยไม่ทรมานกับการรักษาที่ไม่มีที่สิ้นสุด ได้อยู่กับครอบครัว และมีภาครัฐช่วยดูแลในชุมชน

เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

ไม่แออัดที่โรงพยาบาล ได้กลับมาอยู่ในที่ที่คุ้นเคย ไม่ต้องบาดเจ็บทางกายและมีช่วงเวลาสงบสุข

expect-ressult-2
expect-ressult-3

ลดภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ

การดูแลแบบประคับประคองจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของตัวผู้ป่วย ครอบครัว และภาครัฐ เมื่อเทียบกับการรักษาแบบยื้อความตาย

circle image
chart

ค่ารักษาพยาบาลเดือนสุดท้ายในโรงพยาบาลก่อนเสียชีวิตมีค่าเฉลี่ยที่ ประมาณ 45,000 บาท และมีค่าสูงสุดที่กว่า 340,000 บาท แต่หากเป็นการดูแลที่บ้านอย่างได้มาตรฐาน จะมีค่าใช้จ่ายในเดือนสุดท้ายราว 27,000 บาท**

** ข้อมูลจากการสำรวจค่าใช้จ่ายกรณีผู้ป่วยมะเร็งภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

แต่ยังมีความท้าทายที่ต้องฝ่าฟัน
เพื่อให้เกิดนโยบายที่ตอบโจทย์

การถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจยังมีจำกัด ทั้งต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรในระบบ

กฎหมายไม่เอื้อต่อระบบบริหารจัดการการใช้ยาระงับปวดที่บ้าน เพื่อลดความเจ็บไข้ให้ผู้ป่วย

ขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทาง

การเชื่อมประสานระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบางพื้นที่ยังไม่ ‘ไร้รอยต่อ’ อย่างแท้จริง

ทำอย่างไร?

จึงจะมีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ที่บูรณาการการทำงานเชิงระบบ ทั้งฝ่ายสาธารณสุขและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับใช้ในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้

กระบวนการหาคำตอบRISE Impact ได้จัดกระบวนการหารือเชิงนโยบายในประเด็นนี้ทั้งหมด 3 ครั้งรวมผู้เข้าร่วมกว่า 96 คน
การสร้างระบบสนับสนุนการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน- ขับเน้นภาพรวมและความท้าทายการดูแลระยะประคับประคองในปัจจุบันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น - สะท้อนความแตกต่างของการจัดการในแต่ละพื้นที่ และแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน- ค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้ผ่านการนำเสนอโมเดล และการหารือในการพัฒนา ระบบ- ตัวแทนพยาบาลวิชาชีพ - อสม. ผู้ดูแล (trained caregiver) - ครอบครัวที่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองการสร้างเครือข่ายการดูแลแบบประคับประคองที่เชื่อมประสาน- หารือการสร้างเครือข่ายการดูแลระยะประคับประคอง โดยใช้กรอบอันประยุกต์จากตัวชี้วัดขององค์การอนามัยโลก (WHO Framework) และเขตสุขภาพเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) และขอบเขตในการพูดคุย- ตัวแทนจากเขตสุขภาพทั้ง 13 เขต - นักวิชาการ - ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องการพัฒนาแนวทางและรูปแบบในการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน โดย- สะท้อนภาพรวม และสร้างความชัดเจนในบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องในการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน- ร่วมกันถอดบทเรียน และหารือหาจุดคานงัดเพื่อสร้างแนวทางการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ภายใต้บริบทต่างๆ ของประเทศไทย-ผู้ขับเคลื่อนภาคประชาสังคม - นักวิจัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน- ผู้แทนจากพื้นที่ต่างๆ ที่มีการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชน
ข้อสรุปจากกระบวนการจากกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมจากผู้เข้าร่วมอันหลากหลายสามารถเกิดข้อสรุปในเชิงเนื้อหาได้ดังนี้

ข้อเสนอ 1

เกิดรูปแบบเครือข่ายที่เชื่อมประสานกับชุมชน ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลศูนย์ลงมา

ข้อเสนอ 2

เกิดการบริหารจัดการยาระงับปวดในระดับชุมชนที่รวดเร็วและเอื้อต่อการบริหารจัดการ

ข้อเสนอ 3

เครือข่ายความรู้และความเข้าใจในการดูแลแบบประคับประคองที่ยั่งยืน

ข้อเสนอ 4

รูปแบบ (model) การดูแลแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการ

Policy dialogue ไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์เชิงเนื้อหา แต่ยังสามารถสร้างคุณค่าในการผลักดันเชิงนโยบาย

  • ผู้เข้าร่วมเห็นภาพปัญหาที่สำคัญ และเร่งด่วนที่สุดร่วมกัน

    โดยเฉพาะการทำงานระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังไม่เชื่อมประสานและบูรณาการอย่างแท้จริง

  • ผู้เข้าร่วมจากแต่ละวงหารือ ฟังสถานการณ์ รวมถึงได้รับฟังแนวทางการรับมือกับปัญหาและข้อจำกัด

    ทั้งจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ รวมไปถึงญาติผู้ป่วยระยะประคับประคอง และตัวแทนระดับเขตสุขภาพ เพื่อนำไปปรับปรุง ปรับใช้กับหน่วยงาน ชุมชน หรือส่วนของตนเอง

  • ผู้เข้าร่วมมีความสนใจต่อการขับเคลื่อน

    อยากให้การดูแลแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วมในชุมชนเกิดขึ้นได้จริง และแพร่หลายในระดับประเทศ ทั้งยังได้รับรู้การขับเคลื่อนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในปัจจุบัน และเห็นโอกาสที่ทุกภาคส่วนจะได้ทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต

ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง

จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการที่ใช้วิธีการอันหลากหลาย จึงเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้น

  • การพัฒนาหน่วยประสาน การดูแลเพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยในระดับจังหวัด (Care Coordination Unit - CCU)

  • การเสริมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

  • การปรับเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการ สาธารณสุขของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการดูแลระยะกลางอย่างเข้มข้นในระดับโรงพยาบาลชุมชน

  • logo
  • ต้องการรับข่าวสารเกี่ยวกับ Policy Dialogue

    ช่องทางการสื่อสาร

  • logo

    สำนักงานใหญ่

    บริษัท ไรซ์ อิมแพค จำกัด
    14 ซอยเจริญนคร 2 ถนนเจริญนคร
    แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน
    กรุงเทพ 10600

Copyright © 2022 RISE Impact. All rights reserved.