เป็นอยู่อย่างไร
ในช่วงวัยที่เราอาจเลอะเลือน
ระบบบริการและการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) นโยบายที่ต้องผลักดัน
สมองเสื่อมเป็นภาวะที่ส่วนใหญ่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยอาจอยู่ในภาวะทุพพลภาพยาวนาน 10-20 ปี
ภาวะสมองเสื่อมจึงไม่ได้มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อผู้ดูแลและคนรอบข้างซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกับผู้ป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม
จะดีกว่าไหม หากประเทศไทยมีระบบคัดกรอง และดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ
มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีทั้งผู้ป่วย และครอบครัว ลดการพึ่งพาเจ้าหน้าที่ในระบบสาธารณสุขในการดูแล
เร่งคัดแยกผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญของภาวะสมองเสื่อมตั้งแต่เนิ่นๆ
เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักถึงภาวะทางสมอง ของตนเอง เพิ่มโอกาสในการปรับพฤติกรรมเพื่อกระตุ้นและชะลอความเสื่อมของสมอง
มีบริการดูแลผู้ป่วยชั่วคราว (Respite Service) ทั้งแบบศูนย์บริการ หรืออยู่ในชุมชน
ผู้ป่วยไม่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังยามที่ผู้ดูแลมีกิจธุระ อีกทั้งยังเพื่ื่อลดความเหนื่อย ท้อ เครียดสะสม ของผู้ดูแล จากการดูแลที่ต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจ
เกิดเครือข่ายเกื้อกูลผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม (Support Group)
เพื่อสอดส่องดูแลสุขภาพใจ ทั้งความเครียดและภาวะ ซึมเศร้าในญาติที่เป็นผู้ดูแล จัดกิจกรรมเสริมแรงใจ รวมถึงช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์
ภาวะสมองเสื่อมเป็นอาการที่พบมากในผู้สูงอายุ อาจพบได้ถึง 0.2-1 ล้านคน* จากประชากรผู้สูงอายุในปี 2563 ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญของประเทศไทยต่อการเตรียมรับมือ จำนวนผู้มีภาวะพึ่งพิงที่อาจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะทางสมอง
*คำนวณจากความชุกผู้ป่วยสมองเสื่อมในไทย 2-10% :
ข้อมูลจาก มส.ผส., “ภาวะสมองเสื่อม” ป่วยเพิ่มปีละ 1 แสนราย สถิติชี้ ร้อยละ 50 ของผู้สูงวัย80ขึ้นไปมีอาการ (2020)
ความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อมในระยะต่างๆ ยังส่งผลต่อความสามารถ ในการใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเอง ยิ่งอยู่ในระยะรุนแรงมากขึ้น ก็จะยิ่งสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิต และมีโอกาสมีอาการทางประสาทจิตเวชร่วมด้วย เช่น อาการหลงผิด ประสาทหลอน มีปัญหาการนอนหลับ เป็นต้น
การพึ่งพาผู้ดูแลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
แต่การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 1 คนอย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ อาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 50,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายด้านการจ้างผู้ดูแล ค่ายา ค่าปรับปรุง สภาพบ้าน หรือซ่อมแซมข้าวของเสียหาย
หรือหากไม่จ้าง สมาชิกครอบครัวก็ต้องสูญเสียรายได้จากงานประจำ 9,000-15,000 บาทต่อเดือน เป็นอย่างน้อย
และยังพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 9 ใน 10 ราย มีอาการเครียดและวิตกกังวลหลายครั้งต่อสัปดาห์*
*ข้อมูลจาก Alzheimer's Society survey, Carers for people with dementia struggling in silence (2018)
แต่ยังมีความท้าทายหลายประการ
เพื่อให้เกิดระบบการบริการที่ตอบโจทย์
ระบบการคัดกรองผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นคอขวด เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถคัดกรองและดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้ มีจำนวนจำกัด และมักมีภาระงานหนัก
บุคลากรในพื้นที่ไม่มีความรู้และกำลังในการจัดการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม รวมถึงการจัด intervention เพื่อกระตุ้นสมอง ชะลอความเสื่อม
บุคลากรในพื้นที่ ขาดความตระหนักเรื่องภาวะสมองเสื่อม ไม่เห็นความเร่งด่วน และผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่ต้องการคัดกรองภาวะทางสมอง รวมถึงทัศนคติแง่ลบ ต่อภาวะสมองเสื่อมในสังคมไทย เช่น รู้สึกอับอาย กลัวไม่ได้รับการยอมรับ
ระบบการจัดบริการดูแลระยะยาวไม่ได้ตอบสนองต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเนื่องจากต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องวันละ 24 ชั่วโมง และยังเป็นการดูแลที่ต่อเนื่องยาวนานนับสิบปี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ทำอย่างไร?
จึงเกิดระบบที่คัดกรองได้ตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถ หาทางกระตุ้นสมอง ชะลอไม่ให้เข้าสู่ภาวะ สมองเสื่อมในอนาคตได้ และสร้างความตระหนักรู้ต่อภาวะสมองเสื่อม
และทำอย่างไร ให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้รับการดูแลที่เหมาะสม เกิดกลไกสนับสนุนญาติ ที่เป็นผู้ดูแล เพื่อช่วยลดภาระสำหรับครอบครัวให้ได้มากที่สุด
โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อย่อย
ระบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม
กลไกเจ้าภาพบริหารจัดการระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลระยะยาวและการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
ระบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม
ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1
ผู้สูงอายุทุกคนเข้าถึงการคัดแยกภาวะ การรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI)
ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 2
ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจต่อภาวะ การรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) และ ภาวะสมองเสื่อมที่ถูกต้อง
ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 3
จัดให้มี intervention กระตุ้นสมองและชะลอความเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) ในระดับครอบครัวจนถึงชุมชน
กลไกเจ้าภาพบริหารจัดการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลระยะยาวและการดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
แนวทางที่ 1
ลดผลกระทบต่อผู้ดูแลจากการดูแลผู้ป่วย
แนวทางที่ 2
เสริมแรงใจ เพื่อให้ผู้ดูแลมีกำลังใจพอที่จะสู้กับความเหนื่อย ความท้อจากการดูแลอย่างต่อเนื่อง
แนวทางที่ 3
ส่งต่อองค์ความรู้ เพื่อให้ผู้ดูแลมีองค์ ความรู้ที่เพียงพอต่อการดูแล
สิ่งที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการ
Policy dialogue ไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์เชิงเนื้อหา แต่ยังสามารถสร้างคุณค่าในการผลักดันเชิงนโยบาย
ผู้เข้าร่วมสะท้อนว่าเป็นประโยชน์กับตนเองและงานที่ทำ จากการแลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย
เห็นแนวทางที่น่าสนใจสามารถพัฒนาต่อยอดงาน ของตนเอง ได้คุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งน่าจะผลักดันร่วมกันต่อได้
ได้เห็นการแสดงความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐ และประชาชน สามารถสะท้อนให้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีความจำเป็นและสำคัญ
แพทย์ประสาทวิทยาได้รับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนประชาชน ทำให้เห็นว่าควรคิดโจทย์เพื่อตอบ ความต้องการประชาชนจริงๆ จากเดิมที่ไม่ได้รับฟังขนาดนี้มาก่อนเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถร่วมมือกันได้หลังจากกิจกรรม
ผู้พัฒนาบอร์ดเกมได้ติดต่อกับตัวแทนจากคลินิก ผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สำหรับโจทย์นี้
แพทย์ประสาทวิทยาได้แลกเปลี่ยนกับพื้นที่ที่มีโอกาสนำร่อง และเห็นโอกาสทดลอง intervention หรือ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องหลังจากนี้
ตัวแทนกรมอนามัยได้ประโยชน์จากที่ได้เห็นแนวทางพัฒนา intervention สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม และสนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งถัดไปได้เผยแพร่ข้อมูลในวงกว้างผ่านช่องทางออนไลน์
ตัวแทนสื่อสะท้อนว่าสามารถนำเอาสิ่งที่ได้จากวันนี้ ไปต่อยอดเพื่อให้สังคมรู้เรื่องนี้มากขึ้น
ทีมจัดทำโครงการไปเล่าเรื่อง policy dialogue ในครั้งนี้ผ่าน podcast
สื่อได้นัดหมายผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ที่พบกันในวงหารือไปเป็นแขกรับเชิญใน podcast ด้วยเช่นกัน
ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง
จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการที่ใช้วิธีการอันหลากหลาย จึงเกิดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายขึ้น